วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การตรวจซ่อมอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้า

  รายละเอียดเนื้อหา

  บทนำ ::: คำอธิบายรายวิชา
  ตารางวิเคราะห์จุดประสงค์
  จุดประสงค์การเรียนรู้เชิงพฤติกรรม

  หน่วยการเรียนที่ 1
   เรื่อง::ไฟฟ้าเบื้องต้นและหลักความปลอดภัย
  1. ประวัติและความเป็นมาของไฟฟ้า
  2. ทฤษฎีอิเล็กตรอน
  3. แหล่งกำเนิดของไฟฟ้า
  4. ชนิดและประเภทของไฟฟ้า
  5. หน่วยวัดไฟฟ้า กฏของโอห์ม และการคำนวณ
  6. การต่อวงจรไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
  7. หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
  8. 
การปฐมพยาบาลผู้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้า

  
หน่วยการเรียนที่ 2
   เรื่อง::วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือในงานไฟฟ้า
  9.   เครื่องมือวัดในงานไฟฟ้า
  10. วิธีใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์  การบำรุงรักษา

  
หน่วยการเรียนที่ 3
   เรื่อง::การอ่านแบบและเขียนแบบติดตั้งงานไฟฟ้า
  11. 
การอ่านแบบ และการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ
  12. การเขียนแบบติดตั้งอุปกรณ์การเดินสายไฟฟ้า


  หน่วยการเรียนที่ 4 

   เรื่อง::ชนิดของสายไฟฟ้าและการต่อสายไฟฟ้า
  13. สายไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ และวิธีการต่อสาย


  หน่วยการเรียนที่ 5 

   เรื่อง::ปฏิบัติการเดินวงจรไฟฟ้ารูปแบบต่าง ๆ
  14. การเดินวงจรปลั๊กและแผงควบคุมไฟฟ้า
  15. การเดินวงจรสวิทช์ทางเดียวกับหลอดกลม
  16. การเดินวงจรสวิทช์ทางเดียวกับหลอด F/L
  17. การเดินวงจรสวิทช์ 2 ทางกับหลอดไฟฟ้า
  18. การประยุกต์วงจรไฟฟ้าต่างๆเข้าด้วยกัน
  19. การตรวจซ่อมอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้าที่ชำรุด

  หน่วยการเรียนที่ 6
   เรื่อง::การทำบัญชีรายรับ รายจ่าย
  20. การสำรวจราคาค่าวัสดุ อุปกรณ์ในงานไฟฟ้า
  21. การทำบัญชีรายรับ รายจ่ายและการคำนวณ

  
แบบทดสอบ >>หลังเรียน
  
แบบประเมินเนื้อหาและกิจกรรม

.
   การตรวจซ่อมอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้าที่ชำรุด :::  วิชาช่างเดินสายไฟในอาคาร  ช 0261 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  
การตรวจซ่อมอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้าที่ชำรุด

        การตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากเมื่อเราใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าไปนาน ๆ ย่อมเกิดการชำ
รุดเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นการเสียหายที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การขาดความรู้  ขาดการดูแลเอาใจใส่  แม้กระทั่งเกิด
ขึ้นเองตามสภาพการใช้งาน แต่เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว   เราควรที่จะรีบทำการแก้ไขก่อนที่จะเกิดอันตรายต่อตัวผู้ใช้
หรือต่อทรัพย์สิน เช่น การเกิดไฟฟ้าลัดวงจร การเกิดอัคคีภัย ฯลฯ   ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนรู้วิธีการปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการ
แก้ปัญหาเท่าที่เราสามารถกระทำได้แล้ว  ยังนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  และยังสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ ซึ่งจะมีแนวทางดังต่อไปนี้

        1. การสำรวจสภาพความเสียหายของวงจรไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่าง ๆ
        2. วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นของวงจรและอุปกรณ์ไฟฟ้า
 
        3 .
ดำเนินการแก้ไขตามสภาพของความเสียหายขั้นตอนในการตรวจซ่อมอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้า
        มีวิธีตรวจสอบความเสียหายของอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้าดังต่อไปนี้

        1.1 ถ้าสายไฟขาดหรือมีรอยฉีกขาดควรทำการแก้ไขโดยตัดและต่อสายใหม่ ถ้าสายเก่าก็ให้เปลี่ยนสายใหม่และทำ
การต่ออย่างแน่นหนา
        1.2 กรณีหลอดไฟไม่ติดหรือดับ อาจเกิดจากหลอดขาด ให้ทำการเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าไม่ขาดให้ลองตรวจสอบสวิทช์
ไฟว่าเสีย สายขาด หรือเกิดการลัดวงจรหรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่สามารถแก้ไขได้ ควรทำการเปลี่ยน หรือทำการเช็ควงจรและ
ไล่สายใหม่
        1.3 กรณีปลั๊กหรือเต้ารับ ไม่มีไฟ สายอาจจะขาด อันเกิดจากการลัดวงจร ถ้าตรวจพบให้ต่อวงจรใหม่ให้เรียบร้อย
แต่ถ้าไม่ขาดควรไปดูที่คัทเอ้าท์ และฟิวส์ที่แผงควบคุม อาจเกิดจากฟิวส์ขาด  หรือถ้าใช้เซอร์กิต เบรคเกอร์ ให้ลองสับ
สวิทช์ดูใหม่
        1.4 ถ้าไฟดับบ่อย อันเกิดจากแผงควบคุมไฟฟ้าตัดไฟ ลองตรวจดูขนาดของฟิวส์ว่ามีขนาดเล็กไปหรือไม่ควรเปลี่ยน
ให้มีขนาดเหมาะสมกับการใช้งานภายในบ้านหรือสถานที่นั้น ๆ แต่ถ้าไม่ใช่ ลองตรวจดูอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เต้ารับ สวิทช์ไฟ
หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่กำลังเสียบใช้งานอยู่อาจเกิดความผิดปกติหรือลัดวงจร  ให้ทำการแก้ไขโดยเร็ว  หรือถ้าตรวจพบว่ามี
กระแสไฟฟ้าเกินให้แจ้งต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อจะได้ส่งเจ้าหน้าที่มาทำการแก้ไขต่อไป
        
1.5 หากพบว่ามีเสียงดังผิดปกติที่บริเวณ สวิทช์ หรือแผงควบคุมไฟฟ้า อาจเกิดจากหน้าสัมผัส (Contact) ของ
อุปกรณ์นั้นเกิดความร้อนสูง หรือมีสิ่งแปลกปลอมบริเวณหน้าสัมผัสนั้นให้รีบทำการแก้ไขโดยด่วน
        1.6 บางครั้งอาจพบว่ามีเสียงครางออกมาจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ลองตรวจสอบดูว่าบัลลาสต์หลวมหรือไม่ และ
หลอดไฟดับ ๆ ติด ๆ อาจเป็นที่สตาร์ทเตอร์เสื่อมสภาพ ให้ทำการเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าบริเวณขั้วหลอดดำก็ควรเปลี่ยนหลอด
ใหม่เช่นกัน
        1.7 ในระหว่างการปฏิบัติงาน เพื่อความไม่ประมาท ควรสวมถุงมือ หรือตัดวงจรที่แหล่งจ่ายไฟออกก่อน และเลือก
ใช้เครื่องมือให้เหมาะสมในการทำงานนั้น เช่น อาจใช้ไขควงเช็คไฟตรวจดูว่าบริเวณที่จะแก้ไขนั้นมีไฟฟ้าหรือเปล่าไม่ควร
ทำงานในขณะที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่
        1.8 อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด เราไม่สามารถทำการแก้ไขเองได้ ไม่ควรเสี่ยงที่จะดำเนินการเองเพราะอาจเกิดความผิด
พลาด ควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญมาทำการแก้ไข
        1.9 การแก้ไขอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้า อย่าทำอย่างลวก ๆ ให้ตรวจสอบอย่างละเอียด และพิจารณาตามวิธีการที่ได้
้ศึกษามาอย่างถูกต้อง สิ่งที่สำคัญต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่การไฟฟ้าส่วน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น